Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดหนองคาย

5 เสือแรงงานจังหวัดหนองคายร่วมกับ ตม.จังหวัดหนองคาย ตรวจบูรณาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

pll_content_description

          วันที่ 21 พ.ย.2561 เวลา 09.30 – 12.00 น.

          วันที่ 21 พ.ย.2561 เวลา 09.30 – 12.00 น. นางวรรณกานต์ ขาวลาภ แรงงานจังหวัดหนองคาย และหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดหนองคาย ได้ร่วมออกตรวจบูรณาการในสถานประกอบการกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันการใช้แรงงานบังคับ การค้ามนุษย์ด้านแรงงาน แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย  และแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย โดยได้ออกตรวจในเขตพื้นที่อำเภอเมืองหนองคาย รวม 10 แห่ง (ก่อสร้าง 7 แห่ง และหาบเร่/รถเข็น 3 แห่ง) ดังนี้

            1.กิจการรับเหมาก่อสร้าง นายดอน เทพรัตน์ และภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 246 ม.7 ต.ค่ายบกหวาน อ.เมือง จ.หนองคาย ไม่มีลูกจ้าง (รับเหมาทำหลังคา) เจ้าหน้าที่แนะนำให้ไปสมัครประกันสังคม ไม่พบการกระทำผิดที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์

            2.กิจการรับเหมาก่อสร้าง นายสาธิต สาริสุทธิ์ อยู่บ้านเลขที่ 641 ม.9 ต.โพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย มีคนงาน 1 คน (รับเหมาเดินไฟฟ้า) ไม่มีลูกจ้าง เจ้าหน้าที่แนะนำให้สมัครประกันสังคม ไม่พบการกระทำผิดที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์

            3.กิจการรับเหมาก่อสร้าง นายสุวิทย์ มูลดิปฐม (คนงาน) อยู่บ้านเลขที่ 250 ม.6 ต.วัดธาตุ  อ.เมือง จ.หนองคาย มีคนงาน 15 คน เป็นชาย 8 คน เป็นหญิง 7 คน ไม่พบการกระทำผิดที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์

            4.กิจการรับเหมาก่อสร้าง นายชัยวัฒน์ ทวีพาณิชย์ (ผู้คุมงาน) อยู่บ้านเลขที่ 516/2 หมู่ 7   ต.ในเมือง อ.เมือง จังหวัดหนองคาย มีลูกจ้าง 7 คน เป็นชาย 4 คน เป็นหญิง 3 คน เจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้เป็นไปตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดหนองคาย (320 บาท)แก่แรงงานหญิงทั้งสามคน และสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดหนองคายจะได้ออกคำสั่งให้นายจ้างดำเนินการจ่ายค่าจ้างให้เป็นไปตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดหนองคายตามกฎหมายต่อไป และไม่พบการกระทำผิดที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์

            5. กิจการรับเหมาก่อสร้าง นายยุทธศักดิ์ พุทสุนทร อยู่บ้านเลขที่ 73 ม.1 ต.นาสะอาด อ.สร้างคอม                  จ.อุดรธานี (ผู้รับเหมาก่อสร้าง) ไม่มีคนงาน ทำกับภรรยา 2 คน ไม่พบการกระทำผิดที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์

            6.รับเหมาก่อสร้าง นายวิรุจน์ อุไร อยู่บ้านเลขที่ 162 ม.6 ต.จอมศรี อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี (ผู้รับเหมาช่วง)ไม่มีคนงาน ทำกับภรรยา 2 คน ไม่พบการกระทำผิดที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์

            7.กิจการรับเหมาก่อสร้าง บริษัท วีสถาปัตย์ จำกัด นายพงศ์ปณต คุปต์กาญจนากุล ผู้จัดการโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลหนองคาย มีคนงานทั้งหมด 150 คน เป็นชาย 74 คน เป็นหญิง 76 คน เป็นแรงงานต่างด้าว ที่ทำ MoU 25 คน (ชาย 12 คน หญิง 13 คน) ไม่พบการกระทำผิดที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์         8.หาบเร่/รถเข็น นางฉวีวรรณ วงหาจักษ์ อยู่บ้านเลขที่ 15 ม.5 ต.เมืองหมี อ.เมือง จ.หนองคาย ขายเครื่องดื่มหน้าศาลากลางหลังเก่า ไม่พบการกระทำผิดที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์

            9.หาบเร่/รถเข็น นางบรรจง คำแพงเมือง อยู่บ้านเลขที่ 54 ม.5 ต.หาดคำ อ.เมือง จ.หนองคาย ขายเครื่องดื่มหน้าธนาคาร ธกส.ไม่พบการกระทำผิดที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์

            10.หาบเร่/รถเข็น นางออระวัน หนังสือเดินทางเลขที่ P 1677047 เข้ามาเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2561 ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรถึงวันที่ 19 ธ.ค. 2561 ขายผลไม้ ไม่พบการกระทำผิดที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์  แต่พบการกระทำผิดฐานเป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติลาวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ประกอบอาชีพโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และเป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติลาว ประกอบอาชีพหรือทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561

         ในการนี้ 5 เสือแรงงานจึงได้ร่วมกับ ตม.จังหวัดหนองคาย โดยการนำของ พ.ต.อ.ประเสริฐ วิจิตรทัศนา ผกก.ตม.จว.หนองคาย เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนฯนำโดย พ.ต.ท.ธีรพงศ์ ประจักษ์จิตร์  สว.ตม.จว.หนองคาย จับกุมตัวนาง ออระวัน (OLAVANH) อายุ 33 ปี ถือหนังสือเดินทาง เลขที่ P 1677047  โดยกล่าวหาว่ามีความผิดฐานเป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติลาวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ประกอบอาชีพโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และเป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติลาว ประกอบอาชีพหรือทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2561     

            ปัญหาการค้ามนุษย์ นับว่าเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ (Non-Traditional Security) และกำลังเป็นประเด็นที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการกระทำที่ลดทอนศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ และเป็นต้นเหตุที่นำไปสู่ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด การลักลอบเข้าเมือง การค้าประเวณี และที่สำคัญในกฎหมายสิทธิมนุษย์ชนถือว่าการค้ามนุษย์เป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้ามามีบทบาทปฏิบัติการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ด้วยการใช้กฎหมาย The Trafficking Victims Protection Act 2000 (TVPA) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมการปราบปรามการค้ามนุษย์ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อปราบปรามการค้ามนุษย์ อาทิ ค้ามนุษย์ด้านแรงงาน การเอาคนลงเป็นทาส ฯ โดยได้จัดทำรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปีเสนอต่อรัฐสภาเพื่อกำกับนโยบายต่างประเทศและเป็นเครื่องมือที่ใช้โน้มน้าวประเทศต่าง ๆ ให้บูรณาการการแก้ไขการค้ามนุษย์ในระดับสากล โดยให้นำเอาข้อเสนอแนะใน TIP Report ไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงสถานการณ์ภายในประเทศ โดยมีเกณฑ์การจัดระดับกฎหมาย TVPA แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1(Tier 1) คือ ประเทศที่ดำเนินการสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำกฎหมายของสหรัฐฯ ระดับที่ 2 (Tier 2) คือ ประเทศที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายสหรัฐ ฯแต่มีความพยายามปรับปรุงแก้ไข ระดับที่ 2 (Tier 2) ซึ่งต้องจับตามองเป็นพิเศษ โดยมีจำนวนเหยื่อการค้ามนุษย์เพิ่มขึ้น หรือไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ารัฐบาลเพิ่มความพยายามดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ ระดับที่ 3(Tier 3) คือประเทศที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายสหรัฐฯ และไม่มีความพยายามแก้ไข ในปี 2561 ที่ผ่านมาประเทศไทยได้อยู่ในระดับที่ 2 (Tier 2) คือ ประเทศที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายสหรัฐ ฯ แต่มีความพยายามปรับปรุงแก้ไขปัญหา